FAQ
รวมคำถามที่พบบ่อย ตอบทุกข้อสงสัยจาก TU-RAC
คำถามที่พบบ่อย
TU-RAC จะหักค่าธรรมเนียม 10% จากมูลค่าทั้งสัญญา โดยหักเป็นรายงวดตามที่กำหนดในสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น
โครงการมูลค่าทั้งสิ้น 1 ล้านบาท ในสัญญากำหนดแบ่งจ่าย 2 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 จ่าย 500,000 บาท
หักค่าธรรมเนียมงวดที่ 1 (10%) = 50,000 บาท
คงเหลือที่จะได้รับในงวดที่ 1 = 450,000 บาท
งวดที่ 2 จ่าย 500,000 บาท
หักค่าธรรมเนียมงวดที่ 2 (10%) = 50,000 บาท
คงเหลือที่จะได้รับในงวดที่ 2 = 450,000 บาท
ดังนั้นโครงการนี้จะถูกหักค่าธรรมเนียมเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท คงเหลือเงินที่จะได้รับตลอดสัญญา จำนวน 900,000 บาท
การรับเงินงวดแรกนักวิจัยจะยังไม่ได้รับเงิน ดังนี้
- TU-RAC ยังไม่ได้รับสัญญามอบหมายจากนักวิจัย (โดยสัญญามอบหมายจะต้องลงนามครบทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่าง TU-RAC และนักวิจัย)
2. TU-RAC ยังไม่ได้รับการยืนยันยอดหรือหลักฐานการโอนเงินจากหน่วยงานผู้ว่าจ้าง
การที่นักวิจัยรับเงินงวดสุดท้ายล่าช้า เกิดจาก
- นักวิจัยยังไม่ส่งผลงานตามสัญญามอบหมายให้กับ TU-RAC เพื่อความรวดเร็วในการเบิกจ่ายเงิน นักวิจัยสามารถส่งผลงานตามสัญญามอบหมายพร้อมกับส่งงานงวดสุดท้ายให้กับผู้ว่าจ้างแก่ TU-RAC ได้เลยค่ะ
- กรณีโครงการมีการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมครุภัณฑ์ นักวิจัยจะต้องส่งเอกสารให้แก่ TU-RAC ดังนี้
1) บันทึกขอคืนค่าธรรมเนียมส่วนครุภัณฑ์
2) ใบเสร็จรับเงิน/ใบกํากับภาษี (ต้นฉบับ ที่มีรายการครุภัณฑ์แสดง)
3) หลักฐานการส่งมอบครุภัณฑ์และรับมอบครุภัณฑ์ที่มีลายเซ็นผู้มอบและผู้รับมอบ (ผู้ว่าจ้างหรือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และ TU-RAC จะจ่ายเงินค่าธรรมเนียมในส่วนที่ยกเว้นครุภัณฑ์คืนพร้อมกับเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย ทั้งนี้ ไม่เกินมูลค่าที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการสํานักงานศูนย์วิจัยฯ
- กรณีในสัญญาระบุให้เปิดบัญชีรับเงินโครงการ นักวิจัยจะต้องแจ้งการปิดบัญชีโครงการพร้อมส่งรายงานการใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานให้เรียบร้อยก่อน
4. กรณีบัญชีรับเงินของนักวิจัยไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพ นักวิจัยจะได้รับเงินหลังเวลา 14.00 น. ในวันทำการที่ได้รับอนุมัติ
TU-RAC ได้เพิ่มช่องทางการรับเงินที่สะดวก รวดเร็ว ผ่านระบบ I-Cash ของธนาคารกรุงเทพ หากบัญชีรับเงินของนักวิจัยเป็นธนาคารกรุงเทพ นักวิจัยจะได้รับเงินได้ Real Time หลังการอนุมัติในวันทำการ, วันเสาร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
TU-RAC เป็นหน่วยงานในการรับงานที่ปรึกษา วิจัยอบรมสัมมนาและบริการวิชาการในนามมหาวิทยาลัย ตัวแทนมหาวิทยาลัยโดยตรงในการรับงานที่ปรึกษางานวิจัยและอบรมสัมมนาซึ่งสามารถลงนามในสัญญาจ้างในนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
TU-RAC เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่มีการบริหารงานเป็นอิสระ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอธิการบดี เป็นส่วนงานภายในของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารส่วนงานภายในสถาบันอุดมศึกษา และไม่ได้เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากมหาวิทยาลัยโดยมีวัตถุประสงค์
– ริเริ่ม จัดดำเนินการ และให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน
– ให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน
– ริเริ่ม จัดดำเนินการ และให้บริการทางด้านการอบรม สัมมนาและพัฒนาองค์กร และบุคลากร ให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน
การจ้างที่ปรึกษาทำได้ 2 วิธีคือ วิธีตกลงและวิธีการคัดเลือก
1. การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง คือ การว่าจ้างตรง (Direct Hiring) เจาะจงเฉพาะตัวบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมกับภารกิจ และเป็นบุคคลที่ผู้ว่าจ้างเคยทราบหรือเคยเห็นความสามารถและผลงานแล้วและเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้
2. การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก คือ การคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์เหมาะสมกับลักษณะงานของโครงการโดยผ่านขบวนการคัดเลือก การขึ้นทะเบียนให้มีรายชื่อน้อยราย เพื่อจะเชิญชวนยื่นข้อเสนอทางด้านเทคนิคและทางด้านราคาโดยมีจำนวนไม่เกิน 6 ราย และผ่านการพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์การตัดสินจากข้อเสนอทางเทคนิคที่ดีที่สุดจากบรรดาที่ปรึกษาที่ได้รับการเชิญชวนให้เข้าร่วมแข่งขันโดยการยื่นข้อเสนอทางด้านเทคนิคและข้อเสนอทางด้านราคา
TU-RAC มีการจดทะเบียนที่ปรึกษากระทรวงการคลังในนาม “สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เลขทะเบียน 668 ประเภท A โดยมีสาขาที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 19 สาขา
TU-RAC มีเลขผู้เสียภาษีเลขเดียวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
TU-RAC สามารถรับงานที่มีขอบเขตเกี่ยวกับการมอบครุภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานผู้ว่าจ้างโดย TOR (Terms of Reference) ของโครงการและสัญญาจ้างต้องมีการแจงและแสดงรายละเอียดของครุภัณฑ์ที่ต้องส่งมอบ
หัวหน้าโครงการแจ้งมายัง TU-RAC โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หัวหน้าโครงการแจ้งเสนอโครงการเข้ามาที่ TU-RAC
2. TU-RAC ตรวจสอบคุณสมบัติหน่วยงาน และนักวิจัยตาม TOR
3. TU-RAC จัดเตรียมเอกสารและหนังสือนําเสนอโครงการ
4. หัวหน้าโครงการส่งเล่มข้อเสนอโครงการ จํานวน
1 ชุดมายัง TU-RAC ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันครบกําหนด
5. TU-RAC ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับยื่นข้อเสนอโครงการ และเสนอผู้มีอํานาจลงนาม
6. TU-RAC จัดส่งเอกสารทั้งหมดให้ถึงหน่วยงานตามกําหนดการใน TOR
ตามหลักเกณฑ์การให้บริการของ TU-RAC นักวิจัยต้องส่งข้อเสนอให้แก่ TU-RAC อย่างน้อย 3 วันทำการ โดยจัดทำเป็นรูปเล่มหรือรูปแบบตามที่กำหนดรวมถึงจำนวนที่กำหนดใน TOR เพื่อที่ TU-RAC จะได้ดำเนินการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเสนอโครงการและเสนอผู้บริหารลงนามได้ทันตามกำหนดเวลาในการยื่นข้อเสนอ
ไม่ใช่ เนื่องจากผู้อำนวยการ TU-RAC ได้รับมอบอำนาจจากอธิการบดีให้เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในการดำเนินงานสัญญาจ้างในทุกกิจกรรม
ในกรณีที่เป็นงานที่เริ่มจากนักวิจัย นักวิจัยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด กรณีที่เป็นงานที่เริ่มจาก TU-RAC ทาง TU-RACผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หลักประกันซอง เป็นความรับผิดชอบทั้งหมดของสถาบัน แต่ด้วย TU-RAC ได้รับการยกเว้นหลักประกันซองตามระเบียบพัสดุ ปี 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ 7 ว่าด้วย สัญญาและหลักประกัน ข้อที่ 143 จึงไม่ต้องมีการวางหลักประกันซอง
TU-RAC จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
การจัดซื้อ จัดจ้าง โดยปกติ ต้องทำสัญญา ตามข้อ 132 ของระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 แต่มีข้อยกเว้น ตามข้อ 133 ว่า จะทำแค่ตกลงเป็นหนังสือหรือใบสั่งจ้างก็ได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าส่วนราชการ และในวรรคท้ายของข้อ133 ก็เป็นข้อยกเว้นอีกว่าหากการจัดหา ราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือ เป็นการจัดซื้อ/จ้าง ตาม ข้อ 39 วรรคสอง (กรณีจำเป็น เร่งด่วน ไม่อาจคาดการณ์ได้) จะไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ก็ได้ สรุปว่า มีข้อยกเว้นไม่ต้องทำใบสั่งซื้อ สั่งจ้างก็ได้หากวงเงิน ไม่เกิน 10,000 บาท หรือจัดซื้อ/จ้างตาม ข้อ 39 วรรค สอง แต่ในกรณีของ TU-RAC จึงต้องจัดทำเป็นสัญญาจ้าง เพราะในสัญญาจ้างจะมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่เป็นธรรมต่อผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง
ครั้งที่ 1 ภายใน 15 วัน หลังจากการวาง Invoice(ติดตามด้วยวาจา)
ครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันหลังจากการวาง Invoice(ติดตามด้วยวาจา)
ครั้งที่ 3 ภายใน 45 วัน หลังการวาง Invoice(ทำหนังสือติดตามอย่างเป็นทางการ)
ครั้งที่ 4 ภายใน 60 วัน หลังการวาง Invoice(ทำหนังสือติดตามอย่างเป็นทางการครั้งที่ 2)
ไม่สามารถลดหย่อนได้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมการบริหารงานวิจัยที่ TU-RAC เก็บเป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียม มธ. ในอัตราเดียวกัน
การเสียภาษีอากร เป็นหน้าที่ที่ผู้มีเงินได้จะต้องจ่ายภาษี ซึ่งแนวทางปฏิบัติของ TU-RAC คือ นักวิจัยจะต้องจ่ายภาษีเอง นอกจากนี้ TU-RAC จะต้องแจ้งให้นักวิจัย ทราบว่าจะต้องเก็บหลักฐานการจ่ายเงินทุกประเภทในการดำเนินโครงการ และนักวิจัยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนของนักวิจัยเอง
ไม่สามารถลดหย่อนได้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมการบริหารงานวิจัยที่ TU-RAC เก็บเป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียม มธ. ในอัตราเดียวกัน
นักวิจัยควรมีเอกสารการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมส่วนครุภัณฑ์ ประกอบด้วย
1. บันทึกขอยกเว้นค่าธรรมเนียมส่วนครุภัณฑ์
2. รายการครุภัณฑ์พร้อมใบเสนอราคา
TU-RAC จะจ่ายเงินค่าธรรมเนียมครุภัณฑ์คืนแก่ให้นักวิจัยเมื่อมีการส่งมอบครุภัณฑ์และสิ้นสุดโครงการแล้ว
ค่าธรรมเนียม 10% คือ ค่า Goodwill ที่เก็บจากนักวิจัยแล้วต้องนำส่งมหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็น
1. นําส่งมหาวิทยาลัย
2. สํารองเป็นเงินยืมทดรองจ่าย
3. ค่าใช้จ่ายของ TU-RAC
หลักประกันสัญญา (LG แคชเชียร์) จำนวนเงินในการวางหลักประกันสัญญาเป็นความรับผิดชอบของTU-RAC แต่ค่าธรรมเนียมและค่าปรับในการทำหลักประกันสัญญา เป็นความรับผิดชอบของนักวิจัย
นักวิจัยสามารถยืมเงินทดรองก่อนได้ โดยมีเงื่อนไขคือ
1. TU-RAC มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะสามารถให้ยืมเงินทดรองจ่ายได้
2. เป็นโครงการที่ได้ลงนามสัญญาจ้างและสัญญามอบหมายระหว่าง TU-RAC หน่วยงานผู้ว่าจ้าง และนักวิจัยเรียบร้อยแล้ว
3. เป็นโครงการที่มีการเบิกเงินงวดไปแล้วกับหน่วยงานผู้ว่าจ้าง
4. เป็นโครงการที่ไม่มีเงินยืมทดรองจ่ายค้างจ่ายกับทาง TU-RAC
ไม่ได้
TU-RAC สามารถออกหนังสือรับรองเพื่อขอวีซ่าให้แก่นักวิจัยในโครงการได้ ก็ต่อเมื่อนักวิจัยท่านนั้น ๆมีชื่ออยู่ในสัญญาจ้างของโครงการดังกล่าวและต้องเป็นการขอวีซ่า เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการของTU-RAC เท่านั้น
ค่าปรับและค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญานักวิจัยเป็นผู้รับผิดชอบตามข้อสัญญาในสัญญามอบหมาย ระหว่าง TU-RAC และนักวิจัยในส่วนของค่าธรรมเนียม TU-RAC ทาง TU-RAC จะคิดค่าธรรมเนียมจากงวดเงินก่อนหักค่าปรับตามสัญญา
การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามสัญญามอบหมายที่ TU-RAC ได้ลงนามกับนักวิจัยมีข้อบังคับ (ตามข้อ 7 และข้อ 8) เรื่องการส่งมอบงานและการจ่ายเงินให้แก่นักวิจัยต้องส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก่อนการจ่ายเงินงวดสุดท้ายให้แก่นักวิจัย
ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากตามสัญญามอบหมายนักวิจัยต้องดำเนินการเอง
TU-RAC จะคิดค่าธรรมเนียมในการบริการงานวิจัยจากมูลค่าที่ลงนามทั้งสัญญาจ้าง ตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียม มธ.
TU-RAC จะใช้คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เรื่องการแต่งตั้งผู้อำนวยการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันซึ่งระบุถึงอำนาจหน้าที่ของ ผอ. ตั้งแต่การลงนามในข้อเสนอ สัญญาจ้าง การเบิกจ่ายค่าจ้าง กระทำการแทนอธิการบดีในนามมหาวิทยาลัย ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษา ปี 2540 หมวดที่ 4 การรับและบริหารงานวิจัยข้อ 22 และข้อ 24 จึงให้ใช้คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้ง 2 เรื่องเพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการดำเนินงาน
ไม่ได้ เพราะการบริหารงานวิจัยของ TU-RACอยู่ภายใต้การดูแลของอธิการบดี โดยอธิการบดีมอบหมายให้ ผอ. เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามและกระทำการแทนแต่เพียงผู้เดียว