TU-RAC ชวนอ่านบทความจากนักวิจัย เรื่อง เลิกง้อปุ๋ยเคมี Vs ปุ๋ยชีวภาพคือคำตอบเกษตรกรไทยยุคใหม่

TU-RAC ชวนอ่านบทความเรื่อง “เลิกง้อปุ๋ยเคมี Vs ปุ๋ยชีวภาพคือคำตอบเกษตรกรไทยยุคใหม่” โดย รศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
ประเทศไทยต้องนำเข้าปุ๋ยเคมีเป็นมูลค่าปีละกว่า 70,000 ล้านบาท ปัจจุบันปุ๋ยเคมีราคาแพงได้เปิดโอกาสให้กับปุ๋ยชีวภาพกลายเป็นทางเลือกให้เกษตรกร
.
สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพคือ “ไซยาโนแบคทีเรีย” หรือเดิมเรียกว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เนื่องจากแบคทีเรียนี้มีความสามารถในการตรึงก๊าซไนโตรเจนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในอากาศกว่าร้อยละ 70 และเปลี่ยนไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
.
ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้คัดแยกไซยาโนแบคทีเรียที่สามารถตรึงไนโตรเจนจากพื้นที่เกษตรอินทรีย์ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ทั้งสิ้น 45 สายพันธุ์ จากทั้งหมดนี้มี 2 สายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาไปเป็นปุ๋ยชีวภาพ โดยพบว่าการเติมไซยาโนแบคทีเรียทั้งสองสายพันธุ์นี้เป็นปุ๋ยชีวภาพช่วยส่งเสริมการเจริญของต้นกล้า ต้นข้าว และการใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงครึ่งส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวได้ ในขณะที่ช่วยลดต้นทุนในการผลิตลง
.
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2566
รายละเอียด : https://www.bangkokbiznews.com/tech/1057240

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์