TU-RAC ชวนอ่านบทความจากนักวิจัย เรื่อง นวัตกรรมช่วยคนติดเตียง คนไทยทำได้

TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง “นวัตกรรมช่วยคนติดเตียง คนไทยทำได้” โดย รศ.ดร.จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจุบัน มีนวัตกรรมเตียงพลิกตัวเพื่อช่วยผู้ป่วยติดเตียง คือการพัฒนาเตียงผู้ป่วยที่อำนวยความสะดวก ในการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยและลดภาระของผู้ดูแลเริ่มต้นจากเตียงพลิกตะแคงตัวแบบมือหมุน

ซึ่งผลการวิจัยพบว่าอัตราการเกิดแผลกดทับลดลง ต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบไฟฟ้า ติดตั้งระบบจอสัมผัสควบคุมระบบแจ้งเตือนการเกิดแผล ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานทางการแพทย์ และได้รับอนุสิทธิบัตรแล้ว

อีกทั้งรางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติที่กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รวมทั้งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดแผล และเพิ่มอัตราการหายของแผล รวมทั้งการช่วยลดภาระของผู้ดูแลได้

การพัฒนาเตียงดังกล่าวดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยทีมนักวิจัยที่ใช้องค์ความรู้สหสาขาวิชาชีพทางด้านสุขภาพ ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมมือกันภายใต้ภารกิจของศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการออกแบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาเตียงจากการศึกษาบริบทการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน และวิเคราะห์ความต้องการจริง ๆ ของผู้ป่วย

ในปี 2566 ทีมวิจัยมีโครงการที่จะพัฒนาชุดนวัตกรรมแบบใช้งานร่วมกับระบบ IoT (Internet of Things) สามารถสื่อสารระหว่างเตียง ผู้ป่วย ผู้ดูแล และทีมสุขภาพ ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพ และเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากสภาวะของโรค ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 15 มีนาคม 2566

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์