พลาสติกรีไซเคิล ใส่อาหารได้ไหม? | บทความนี้มีคำตอบ
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง พลาสติกรีไซเคิลสู่บรรจุภัณฑ์ สัมผัสอาหารได้ไหม? โดย อนุวัฒน์ รัศมีสมศรี, รศ.ดร.ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย
สังกัดศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยชั้นสูง ลงเผยแพร่ใน คอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่นิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีความแข็งแรง คงทน น้ำหนักเบา เก็บอาหารและเครื่องดื่มได้ดีโดยไม่เสียคุณภาพ และยังขึ้นรูปเป็นแบบต่างๆ ได้ง่าย ที่ผ่านมาเรานิยมขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เหล่านี้จากพลาสติกที่ผลิตขึ้นใหม่ หรือพลาสติกบริสุทธิ์ (virgin plastic)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิถีชีวิตใหม่ (new normal) จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการทำงานที่บ้าน (Work from home) เพิ่มขึ้น รวมถึงร้านค้าเองมีมาตรการป้องกันการระบาดของเชื้อโรค ด้วยการงดใช้และให้บริการภาชนะของทางร้าน ปรับเปลี่ยนมาใช้ภาชนะพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งมากขึ้น ส่งผลให้เกิดขยะจากพลาสติกในปริมาณที่เพิ่มสูงมาก
และด้วยความที่พลาสติกส่วนใหญ่มีความคงทน ย่อยสลายได้ยาก การกำจัดพลาสติกมักทำด้วยการเผาทำลายซึ่งมีส่วนเพิ่มแก๊สเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงเป็น “ภาวะโลกเดือด” ดังที่องค์การสหประชาชาติออกมาเตือนเมื่อไม่นานนี้
เพื่อลดปัญหาปริมาณขยะพลาสติกที่สูงขึ้น เราอาจพยายามลดปริมาณขยะจากพลาสติกได้ด้วยหลักการ reduce-reuse-recycle ตามหลักระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งหมายถึงการลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ในกรณีบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่มนั้น ด้วยปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้นตามแนวทางวิถีชีวิตใหม่ ทำให้การรีไซเคิลพลาสติกเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
แล้วการนำพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหารและเครื่องดื่ม มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคขนาดไหน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.bangkokbiznews.com/environment/1094424