ปรับตัวอย่างไร…เมื่อถนนแห่งความรู้ไม่มุ่งสู่ “มหาวิทยาลัย”
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง ทางรอดมหาวิทยาลัยยุค ‘ความรู้อายุสั้น คนอายุยาว’ (1) โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน คอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์
สองแรงหลักที่ขับเคลื่อนทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันก็คือ เทคโนโลยีและโครงสร้างประชากร เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้เกิดอาชีพใหม่และองค์ความรู้ใหม่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
หากหันมาดูตัวเลขประมาณการประชากรไทยก็จะเห็นปัญหาใหญ่ 2 ประการ ประการแรก จำนวนประชากรไทยจะไปแตะจุดสูงสุดที่ 72 ล้านคนในปี 2572 หลังจากนั้นจำนวนประชากรจะไม่เพิ่มขึ้น แต่จะเริ่มลดลงเนื่องจากอัตราการเจริญพันธุ์รวมของไทยในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.3 เท่านั้น
จำนวนเด็กที่ลดลง จำนวนนักศึกษาก็จะลดลง มหาวิทยาลัยที่พึ่งพิงรายได้ค่าหน่วยกิตจากนักศึกษาจะอยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ และเทคโนโลยียังเปิดพื้นที่เรียนรู้ใหม่ๆ สำหรับแทบทุกศาสตร์ในหลากหลายรูปแบบที่เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา มหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นแหล่งผูกขาดองค์ความรู้ระดับสูง เพื่อการพัฒนาและอาชีพแต่เพียงแหล่งเดียวอีกต่อไป ส่งผลให้ถนนทุกสาย “ไม่” มุ่งสู่มหาวิทยาลัย ผู้คนสามารถหาความรู้ และพัฒนาทักษะใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องง้อมหาวิทยาลัย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/health/education/1106657