TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง เหลื่อมล้ำ จากรากหญ้าถึงชั้น 14 โดย รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหากาพย์ ” ความเหลื่อมล้ำ” ดึกดำบรรพ์..ยันชั้น 14

TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง เหลื่อมล้ำ จากรากหญ้าถึงชั้น 14 โดย รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ นักการเมืองมักใช้เรื่องนี้เพื่อหาเสียง ฝ่ายค้านก็ใช้มาเป็นประเด็นโจมตีรัฐบาล แม้ว่าความเหลื่อมล้ำจะถูกพูดถึงมานาน แต่สถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น ปัญหานี้เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขจริงจัง อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในอนาคต การแบ่งแยกในสังคม ขาดความสามัคคี และความไม่ไว้วางใจกันจะเป็นผลทำให้มีการแบ่งพรรค การขาดความสามัคคีสร้างปัญหาอาชญากรรม นำไปสู่ความไม่เสถียรทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการศึกษาที่มีความเหลื่อมล้ำสูงๆ จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ขาดคุณภาพ การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปได้ยาก จึงต้องรับรู้ว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ต้องเผชิญ และสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำน้อยจะมีความสงบสุขกว่า การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเริ่มจากการแก้ปัญหาโครงสร้าง เช่น การปรับปรุงระบบภาษี การปฏิรูประบบการถือครองที่ดิน การลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาและข้อมูล รวมถึงการสร้างโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและสร้างสันติภาพในชุมชน

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1114515

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์