TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในห้อง ER | โดย ผศ. ดร.พรรษา รอดอาตม์ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) ในคอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
“เราเคยได้ยินข่าวความรุนแรงในห้องฉุกเฉิน (ER) ของโรงพยาบาลบ้างไหม? ความรุนแรงใน ER มักเกิดจากความเครียดและกังวลของญาติหรือผู้ป่วยที่ไม่พอใจกับการต้องรอคอย โดยบางครั้งถึงขั้นทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ โครงการวิจัยจากวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงพยายามศึกษาและหาวิธีที่ ‘สื่อ’ จะช่วยลดความรุนแรงในสถานพยาบาล โดยเน้นการสื่อสารผ่านสื่อดั้งเดิม (โทรทัศน์) สื่อออนไลน์ (Facebook, Youtube และ TikTok) และสื่อเคลื่อนที่ (BTS) เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจขั้นตอนการทำงานของบุคลากรแพทย์ใน ER และลำดับการรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงสร้างคู่มือสำหรับฝึกอบรมบุคลากรให้สื่อสารอย่างเข้าใจในภาวะฉุกเฉิน เมื่อผู้คนได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบการรักษาและแนวทางการบริการ ก็จะลดการแสดงออกทางความรุนแรงและเพิ่มความปลอดภัยในสถานพยาบาลได้ เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นการใช้สื่อในเชิงบวก เพื่อสร้างความเข้าใจและป้องกันความรุนแรงในห้องฉุกเฉินให้ลดลงในอนาคต”
TU-RAC invites you to read the article, Communication to Reduce Violence in the ER, by Asst. Prof. Dr. Pansa Rawd-ard, from the Thammasat University Research and Consultancy Institute (TU-RAC). This article is featured in the ‘Now and Beyond by TU-RAC’ column every Thursday in the BangkokBizNews.
“Have you ever heard of incidents of violence in the Emergency Room (ER) of hospitals? Sometimes, this violence stems from the stress and frustration of family members or patients unhappy with wait times, even escalating to physical harm against medical personnel. The Akkhraratchakumari Nursing College, Chulabhorn Royal Academy, has initiated a project to explore how ‘media’ can help reduce such violence. The research uses traditional media (TV), online platforms (Facebook, Youtube, and TikTok), and transit media (BTS trains) to communicate to the public about how ER medical staff prioritize treatment based on the severity of patients’ conditions, providing a clearer understanding of emergency room operations. Additionally, the project aims to develop a guidebook for medical staff, training them in empathetic communication during emergencies.
By informing the public about ER service guidelines and treatment protocols, the project hopes to reduce violent outbursts and enhance hospital safety. This project shows the potential of media to play a positive role in raising awareness and reducing violence in the ER, fostering a safer healthcare environment for everyone.”
For more details : https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1151393