TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง วิบากกรรมกุ้งไทยกับความเป็นกลางทางคาร์บอน โดย ผศ.ดร.มารุต สุขสมจิตร สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
จากผลการศึกษาของกรมประมงระบุว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเลี้ยงกุ้งทะเลเกิดจากกิจกรรมการผลิตอาหาร (55 %) การใช้พลังงานไฟฟ้า (43 %) ส่วนที่เหลือมาจากการผลิตลูกพันธุ์ และอื่น ๆ
.
นอกจากนี้ ยังมีรายงานผลการศึกษาที่ระบุว่าการเลี้ยงกุ้งขาวแบบหนาแน่น จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4.33 กิโลกรัมคาร์บอนเทียบเท่าต่อผลผลิตกุ้ง 1 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าการผลิตข้าว (ข้าวเปลือก) เกือบสามเท่า
.
ทางเลือกในการปรับกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน แบ่งออกได้เป็นสองแนวทาง แนวทางแรก คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้มากที่สุด โดยต้องเน้นการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (Feed Conversion Raito: FCR) บริหารจัดการการให้อากาศตามความเหมาะสม ใช้โซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องเติมอากาศ
.
แนวทางที่สอง คือการเพิ่มการดูดซับและเก็บกักก๊าซเรือนกระจกให้มากยิ่งขึ้น โดยเกษตรกรสามารถใช้การปลูกพรรณไม้ชายเลนภายในพื้นที่ฟาร์ม เช่น โกงกาง แสม ลำพู เพื่อดูดซับและเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยคาร์บอนไดออกไซด์จะไปสะสมอยู่ในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ในรูปของมวลชีวภาพ
.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1069919