R12 เส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญ เชื่อมอาเซียน ตอนที่ 2

TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง เส้นทาง R12 โอกาสของไทยและเพื่อนบ้าน (2) พิทยา สุวคันธ์, ธีรภัท ชัยพิพัฒน์, ศิวริน เลิศภูษิต, วิลัลพัชร ประเสริฐศักดิ์, วีระ นฤภัทรวนนท์ | สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) ในคอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
.
โอกาสของไทยบนเส้นทาง R12 (ต่อจากตอนที่แล้ว) จากการติดตามความร่วมมือของจังหวัดนครพนมกับภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมฯ และหอการค้าจังหวัดนครพนม ในการพัฒนาเส้นทาง R12 เพื่อการขนส่งข้ามพรมแดน พบว่าเส้นทางนี้ยังต้องการการพัฒนาอย่างมาก เนื่องจากยังเป็นถนนสองช่องทาง ไม่มีไฟส่องสว่าง และบางช่วงยังเป็นลูกรัง ทำให้การสัญจรล่าช้าและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ปัจจุบันรถจากไทยต้องผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ไปยังท่าแขก สปป.ลาว ก่อนจะไปยังท่าเรือหวุงอ๋าง เวียดนาม แล้วต่อไปยังจีน กระบวนการขนส่งนี้มีความซับซ้อน เนื่องจากต้องสลับหัวรถลากที่ท่าแขกและมีค่าธรรมเนียมการผ่านแดนที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีกฎระเบียบที่ยุ่งยากขึ้นหลังจากการเกิดขึ้นของเวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค
เพื่อให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดการค้าและการลงทุนได้ การพัฒนาเส้นทาง R12 จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาว และเวียดนาม
การสร้างความร่วมมือกับ สปป.ลาว ในการพัฒนาเส้นทาง R12 จะช่วยให้ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาคได้ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่สะดวกและรวดเร็วในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1135243

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์