อย่าคิดว่าบรรษัทข้ามชาติไซซ์ยักษ์สัญชาติไทยไม่มีปัญหาเรื่องการจัดการคน เมื่อไปลงทุนในต่างประเทศ บทความนี้เผยให้เห็นว่ายักษ์ใหญ่เหล่านี้เขาแก้ปัญหาอย่างไร
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง การขยายกิจการของบรรษัทข้ามชาติไทย กับความท้าทายด้านคน โดย รศ.ดร.จตุรงค์ นภาธร | สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
การขยายกิจการของบรรษัทข้ามชาติจากประเทศไทยไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรตั้งแต่ก่อนเกิดสภาวะโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งการขยายกิจการดังกล่าวเป็นไปใน 2 รูปแบบ
.
คือ (1) การขยายกิจการไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว (หรือรูปแบบการขยายกิจการแบบ South-North) และ (2) การขยายกิจการไปยังประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market Economies) (หรือรูปแบบการขยายกิจการแบบ South-South) ซึ่งรูปแบบการขยายกิจการทั้ง 2 รูปแบบส่งผลให้เกิดความท้าทายด้านคนในลักษณะที่แตกต่างกัน
.
งานวิจัยชิ้นหนึ่งของผู้เขียนสรุปได้ว่า บรรษัทข้ามชาติที่ขยายกิจการในรูปแบบ South-North มักขยายกิจการโดยการเข้าไปซื้อกิจการ (M&As) ในประเทศที่พัฒนาแล้ว (ยกตัวอย่างเช่น ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ปเข้าไปซื้อกิจการอาหารทะเลและอาหารกระป๋องในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป)
.
และต้องพบกับความท้าทายด้านคน จากการที่บริษัทที่ตนเองไปซื้อกิจการมามีวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน และพนักงาน/บุคลากรในบริษัทเหล่านั้นยังไม่ได้ให้การยอมรับตัวบริษัทแม่ ในฐานะที่เป็นเจ้าของกิจการของตน
.
รายละเอียด : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1079769
บทความจากคอลัมน์ Now and Beyond หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและกรุงเทพธุรกิจออนไลน์