TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง จัดการ อัลไซเมอร์ ด้วยชีวสารสนเทศศาสตร์ ความหวังของสังคมสูงวัย โดย อ.ภูภิภัทร ใจแก้ว สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
“ชีวสารสนเทศศาสตร์” (Bioinformatics) คือศาสตร์การเรียนรู้สาขาหนึ่งที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ในแขนงต่าง ๆ มาผสมผสานกับความรู้ในด้านชีววิทยาแขนงต่าง ๆ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของข้อมูลใหม่ ๆ ในศาสตร์ความรู้ใหม่ ๆ จึงมีบทบาทอย่างมากในการศึกษาทางเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งทางด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรม รวมทั้งการหาแนวทางในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
.
นอกจากนี้ชีวสารสนเทศศาสตร์ ยังสามารถลดต้นทุนในการค้นหายารักษาโรคอัลไซเมอร์จากการใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์วิเคราะห์เพื่อคัดเลือกสารสำคัญที่มีศักยภาพ และมีความจำเพาะกับเป้าหมายของโรคที่ต้องการในการรักษา ก่อนจะนำไปสู่การทดลองในห้องปฎิบัติการ
.ช่วยลดระยะเวลาในการทดลอง ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการคิดค้นยาสำหรับรักษาโรคต่างๆ จากเดิมที่การค้นคว้ายาบางตัวอาจใช้เวลามากกว่า 10 ปีจึงจะสำเร็จ และบางงานวิจัยอาจไม่เจอตัวยาที่สามารถรักษาโรคได้
.
ชีวสารสนเทศศาสตร์ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรค การค้นหาและพัฒนายาทางเลือกใหม่ๆ สำหรับโรคอัลไซเมอร์จากทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
เพิ่มความหวังที่ประชาชนทุกคน ทุกช่วงอายุจะมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดี และจดจำคนที่รักต่อไปได้อีกนาน ๆ
.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1071835
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง จัดการ อัลไซเมอร์ ด้วยชีวสารสนเทศศาสตร์ ความหวังของสังคมสูงวัย
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest