TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง ดินดีมีชัย บทพิสูจน์การจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์

ทางรอดของเกษตรกรไทย ในสภาวะวิกฤติ กับการจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง ดินดีมีชัย บทพิสูจน์การจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์ โดย ผศ.ดร.อรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
การจัดการดินแบบเกษตรอินทรีย์นั้นตั้งอยู่บนหลักคิดที่ง่ายที่สุดคือ หากทำให้ “ดินดี” พืชก็มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตตรงตามความต้องการ มีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด รายได้เกษตรกรก็ดีไปด้วย
.
การส่งเสริมการเกษตรเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากระบบการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การผลิตแบบใหม่ที่พึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชมากเกินความจำเป็น นอกจากทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรม เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งในดิน แหล่งน้ำ และอากาศในระยะยาว
.
นอกจากนั้นยังเกิดความเข้าใจผิดๆ หลายอย่างที่ส่งผลโดยตรงต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น การเผาทำลายเศษวัสดุในพื้นที่เพื่อลดปัญหาการสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้แมลงและสิ่งมีชีวิตที่ เป็นประโยชน์ถูกทำลายไป หรือการใช้ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อทำให้พืชผักมีสีเขียวน่ารับประทาน แต่ที่จริงแล้วการให้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไปยิ่งทำให้พืชอ่อนแอต่อโรคและแมลง เนื่องจากไนโตรเจนทำให้เซลล์พืชเกิดการอ่อนนุ่ม อวบน้ำ โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย เป็นต้น
.
หากเกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และรักษาสมดุลของธาตุอาหารพืชด้วยการปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน จะทำให้สามารถลด ละ เลิกการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทั้งในรูปปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชได้ ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยและมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภครักสุขภาพที่ปัจจุบันตลาดเพื่อสุขภาพมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://turac.tu.ac.th/wp-content/uploads/2023/07/07-19.pdf
.
บทความเผยแพร่ผ่านทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม 2566

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์