กรี๊ดเลยย…เพิ่งรู้ว่าสาหร่ายทำได้ขนาดนี้
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง นักวิทยาศาสตร์จับตา “สาหร่าย”จะปฏิวัติวงการแพทย์ โดย รศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
สาหร่ายขนาดเล็ก หรือสาหร่ายเซลล์เดียวอย่าง สไปรูลินา (Spirulina) และคลอเรลล่า (Chlorella) กำลังจะเข้ามามีบทบาทในงานค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ ด้วยคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมที่เป็นทางออกให้กับประเด็น จริยธรรมในสัตว์ทดลอง
.
เวลาที่วงการแพทย์จะทดลองยาหรือหาความรู้ใหม่ๆ ในการรักษา จะเอาไปทดลองกับมนุษย์ย่อมไม่ได้ จึงต้องใช้ “วิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์” ขึ้นมาเพื่อการทดลอง เรื่องสำคัญในการเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์ คือ “อาหารเลี้ยงเซลล์” ซึ่งต้องมีองค์ประกอบของสารอาหารและฮอร์โมนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ที่เพาะเลี้ยง องค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาเสริมในอาหารเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์คือ “ซีรัมตัวอ่อนลูกวัว” (Fetal bovine serum: FBS) ที่มีมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทั้งราคาแพง การผลิตในปริมาณสูงทำได้ยาก องค์ประกอบของซีรัมในแต่ละครั้งที่ผลิตได้มีความผันแปรไปตามลูกวัวแต่ละตัว มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากไวรัส และกระทำให้ซีรัมบริสุทธิ์มีความยุ่งยาก
.
ทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการนำไปผลิตซีรัมเพื่อใช้ทดแทนซีรัม ของตัวอ่อนลูกวัว ก็คือสาหร่ายขนาดเล็กเนื่องจากสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่าย เจริญเติบโตไว ต้นทุนการเพาะเลี้ยงต่ำ เพราะเจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์แสง แถมใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อยเมื่อเทียบกับการเลี้ยงวัวหรือสัตว์อื่นๆ
รายละเอียด : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1084339