TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง พระเอกพืชสมุนไพรไทย จากยาดมถึงสารสกัดมูลค่าสูง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิวธวัฒ นาพิรุณ

สมุนไพรไทยจะยืนหนึ่งและยั่งยืนระดับโลกได้อย่างไร

TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง พระเอกพืชสมุนไพรไทย จากยาดมถึงสารสกัดมูลค่าสูง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิวธวัฒ นาพิรุณ | อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.

รายงานด้านวิจัยตลาดของ Nielsen Thailand พบว่าตลาดยาดมมีมูลค่าสูงถึง 4,500 ล้านบาทต่อปี วัตถุดิบชิ้นส่วนพืชสมุนไพรที่ปรุงผสมอยู่ในยาดมนั้น ส่วนมากจะให้สารสำคัญในรูปของน้ำมันหอมระเหย (aromatic oils) ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการวิงเวียน ช่วยให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย เช่น สมุลแว้ง ชะลูด พริกไทย กระวาน กานพลู อบเชย ซึ่งล้วนเป็นสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคย

ภูมิภาคอาเซียนตั้งอยู่ในเขตชีวนิเวศ (biomes) ที่มีความหลากหลายของพรรณพฤกษชาติสูง ทำให้มีตัวเลือกของพรรณพืชเพื่อการนำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีชื่อเสียงและมีมูลค่าสูงที่พบในประเทศไทย ซึ่งมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบ

ประเทศไทยผลิตและส่งออกพืชสมุนไพรทั้งในรูปแบบชิ้นส่วนวัตถุดิบและสารสกัดที่มีสารสำคัญมูลค่าสูงเป็นส่วนผสม ซึ่งผู้พัฒนายาหรือผลิตภัณฑ์จะคัดเลือกนำไปใช้ตามความต้องการในกระบวนการผลิต วัตถุดิบและสารสกัดเหล่านี้จะมีการจัดการคุณภาพและปริมาณสารออกฤทธิ์อีกครั้งตามกระบวนการเฉพาะของแต่ละบริษัทให้ได้รูปแบบตรงตามจุดมุ่งหมายการใช้ของผลิตภัณฑ์หรือยานั้นๆ

แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสังเคราะห์สารเคมีเลียนแบบสารออกฤทธิ์ แต่หลายชนิดก็ต้องลงทุนสูงในการสังเคราะห์ อีกทั้งตลาดผู้บริโภคให้การตอบรับเรื่องของสารสกัดหรือสารออกฤทธิ์ที่ได้จากธรรมชาติมากกว่าด้วยสาเหตุความรู้สึกว่าปลอดภัย ดังนั้น ความเป็นไปได้อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นที่นิยมก็คือ การใช้ “กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพพืช”

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1088763

เผยแพร่ใน คอลัมน์ NOW and BEYOND by TU-RAC ทุกวันพฤหัส ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์