TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง ฤาขยะกำพร้า จะช่วยแก้ปัญหาพลังงาน โดย ผศ.ดร.วนิดา ชูอักษร สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
“ขยะกำพร้า” เป็นขยะที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ “จัดการขยะกลางทาง” หรือการจัดเก็บ รวบรวม คัดแยก ปรับปรุงสภาพให้มีคุณลักษณะเหมาะสมต่อการจัดการ
.
เนื่องจากขยะเหล่านี้ไม่มีที่ไป เป็นขยะที่ไม่มีใครเอา ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล แม้แต่ซาเล้งเองก็ไม่รับซื้อ ส่งผลให้ปริมาณขยะกำพร้ามีปริมาณมากขึ้น และเกิดปัญหาขยะตกค้าง
.
ส่วนขยะประเภทพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก ถ้วยพลาสติก แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก วัสดุกันกระแทก กล่องโฟม หรือบรรจุภัณฑ์ ขยะพวกนี้ถูกทิ้งเป็นขยะทั่วไป รอการนำไปกำจัด เช่นเดียวกับขยะประเภทเศษผ้า เศษกระดาษ ซองขนม เสื้อผ้าเก่า และที่นอนเก่า
.
จากการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยทั่วประเทศ ปี 2564 ของกองการจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะกำพร้ามีมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักของขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด
.
เฉพาะในกรุงเทพมหานครที่มีขยะเกิดขึ้นกว่าวันละ 10,000 ตัน มีองค์ประกอบเป็นพลาสติก และกระดาษที่ไม่สามารถรีไซเคิลถึงร้อยละ 21.7 ของน้ำหนัก
.
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1073488
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง ฤาขยะกำพร้า จะช่วยแก้ปัญหาพลังงาน
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest