TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “มอสส์” กับเศรษฐกิจบีซีจี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจนจรีย์ อินอุทัย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หัวใจของเศรษฐกิชีวภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเคลเศรษฐกิจบีซีจีนั้น เป็นการนำทรัพยากรชีวภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ วัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรม และชุมชน มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-Based Product) ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ประเทศไทยถือได้ว่ามีแต้มต่อในเศรษฐกิจชีวภาพจากความหลากหลายของทรัพยากรทางชีวภาพที่มีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คาดการณ์ว่าสิ่งมีชีวิตที่พบในไทยคิดเป็น 10% ของชนิดสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่บนโลก อาทิเช่น พืชมากกว่า 13,000 ชนิด สาหร่าย 350 ชนิด สัตว์มีกระดูกสันหลัง 5,000 ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 7,000 ชนิด จุลินทรีย์มากกว่า 200,000 ชนิด เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งทางพฤกษภูมิศาสตร์ พบว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตพรรณพฤกษชาติ 3 ภูมิภาค ได้แก่ พรรณพฤกษชาติอิน โดเบอร์มีส (Indo-Burmese subregion) พรรณพฤกษชาติอิน โดไชนีส (Indo-Chinese subregion) และพรรณพฤกษชาติอิน โดมาลายัน (Indo-Malayan subregion) ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรวมความหลากหลายของพืชอย่างน่าทึ่ง รวมถึงพืชไม่มีท่อลำเลียง (non-vascular plants) ขนาดเล็กที่เรียกว่า มอสส์ (moss) ซึ่งจะพูดถึงในที่นี้
รายละเอียด : https://turac.tu.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/NAB-24.pdf
บทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 12 เมษายน 2566