TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง สื่อโทรทัศน์ไทยต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

หนึ่งช่องว่างของความเหลื่อมล้ำ กับประเด็นสื่อโทรทัศน์ไทยกับคนพิการทางการเห็น
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง สื่อโทรทัศน์ไทยต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กุลนารี เสือโรจน์ อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในคอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
.
การให้บริการและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของของคนพิการทางการเห็นในสื่อดิจิทัล เช่น การมีล่ามภาษามือ (Sign Language) คำบรรยายแทนเสียง (Closed Captioning) และเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) เพื่อให้คนพิการทางการเห็นสามารถมีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป
.
แม้ว่ากฎหมายในประเทศไทยจะระบุการให้บริการดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงการให้บริการยังมีข้อจำกัดและความยากลำบาก เช่น การจำกัดเวลาการออกอากาศของบริการ และความซับซ้อนของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล รวมถึงข้อจำกัดในการมีความหลากหลายของรายการที่ให้บริการ

อนึ่ง ปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตเสียงบรรยายภาพ (Audio Description) ยังเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต้องพิจารณา เนื่องจากต้นทุนที่สูงอาจทำให้การให้บริการมีความยากลำบากและไม่สามารถมีความหลากหลายของรายการได้ เช่นเดียวกับปัญหาที่หลายประเทศเผชิญอยู่ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการผลิตอาจเป็นทางเลือกที่ดี เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชัน VOHAN ที่สนับสนุนการผลิตเสียงบรรยายภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
.
ความสำคัญของการลงทุนในการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ เพื่อสร้างความเท่าเทียมและโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงให้กับคนพิการทางการเห็นในสังคม และเชื่อว่าการร่วมมือกันระหว่างสถานีโทรทัศน์ที่รับใบอนุญาต ผู้ผลิตรายการ และหน่วยงานกำกับดูแล เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนพิการทางการเห็นไม่ถูกละเลยในสังคมไทย
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1121101

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์