เคยสงสัยกันไหมว่า “เกลือ” สำคัญต่อคุณภาพน้ำปลาอย่างไร ?
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง เกลือในน้ำปลา : พระเอกหรือผู้ร้าย โดย ผศ.ดร.กมลทิพย์ เสรีนนท์ชัย | สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
น้ำปลาเป็นเครื่องปรุงรสเค็มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งด้านรสชาติความนัวแบบอูมามิและกลิ่นหอมรัญจวนที่หาไม่ได้จากเครื่องปรุงรสประเภทอื่น จึงเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ทำให้อาหารไทยติดอันดับ 1 ใน 10 อาหารอร่อยที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่อง
.
น้ำปลา 1 ลิตรจะมีเกลืออยู่อย่างน้อย 200 กรัม (คิดเป็น 20% w/v) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักอันดับที่ 2 รองจากปลา โดยเกลือแกงหรือเกลือโซเดียมคลอไรด์นี้เป็นแหล่งของแร่ธาตุโซเดียมที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับเกินพอดีจะส่งผลเสียให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง และเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย
.
วัฒนธรรมการกินของคนไทยที่มักจะขาดน้ำปลาไม่ได้ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียจากเกลือในน้ำปลาที่มีต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่แก้เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเค็มหรือใช้น้ำปลาโซเดียมต่ำก็สามารถช่วยลดปัญหาการเจ็บป่วย ลดค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจในระยะยาวที่เกิดจากการเจ็บป่วยได้
.
รายละเอียด : https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1082883
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง เกลือในน้ำปลา : พระเอกหรือผู้ร้าย
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest