เมื่อคนมีมากกว่าอาหาร ปัญหาการขาดแคลนอาหารจึงเกิดขึ้น โรงงานผลิตพืชจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร….
.
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) เพื่อความมั่นคงทางอาหาร โดย ผศ.ดร.พฤกษ์ ชุติมานุกูล สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC)
.
การขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องการผลผลิตทางการเกษตรที่มีความสดใหม่เพิ่มขึ้น แต่ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ทำให้อัตราการเติบโตของพืชลดลง เกิดการเข้าทำลายของโรคและแมลง โรงงานผลิตพืช จึงเป็นแนวทางตอบสนองความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นได้
.
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “โรงงานผลิตพืช (Plant Factory)” หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟาร์มแนวตั้งในร่ม (Indoor Vertical Farming)” การปลูกพืชแบบนี้เป็นการผลิตทางการเกษตร ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีในระบบปิด
.
ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการปลูกพืชให้เติบโตภายใต้แสงประดิษฐ์หรือแสงเทียม (Plant Factory with Artificial Lighting: PFAL)
.
โรงงานผลิตพืชเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1983 ซึ่งเป็นผลมาจากพื้นที่ที่จำกัดและสภาพอากาศไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร จากนั้นมาเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ในโรงงานผลิตพืช ก็มีการพัฒนาและขยายขนาดการผลิตไปอย่างรวดเร็ว
.
ในหลาย ๆ ประเทศเริ่มมีการปลูกพืชในระบบนี้กันมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยก็เริ่มมีการวิจัยพัฒนา และเริ่มผลิตเชิงการค้าโดยภาคเอกชนในช่วงปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
.
รายละเอียด : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1080599
TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง โรงงานผลิตพืช (Plant Factory) เพื่อความมั่นคงทางอาหาร
Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest