TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง “แคโรทีนอยด์” ขุมทองจากสีสันธรรมชาติ | รศ.ดร. เทพปัญญา เจริญรัตน์ และนายชัชชล กองสินแก้ว

ชวนกันมาสวย 🌈 รวย 💰 และแข็งแรง 💪 ด้วยแคโรทีนอยด์ ไม่อ่านถือว่าพลาด!!!! 🚀

TU-RAC ชวนอ่านบทความ เรื่อง “แคโรทีนอยด์” ขุมทองจากสีสันธรรมชาติ | รศ.ดร. เทพปัญญา เจริญรัตน์ และนายชัชชล กองสินแก้ว
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน คอลัมน์ Now and Beyond by TU-RAC ทุกวันพฤหัสบดี ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

จินตนาการถึงสวนที่สะพรั่งไปด้วยผักผลไม้สีสันสดใส 🥕 ทั้งพริกหยวก, แครอท, มะเขือเทศ, มะละกอ, สตรอว์เบอร์รี ที่มีทั้งสีเหลือง, แดง, และส้ม สีสันสดใสเหล่านี้ไม่ได้มีไว้แค่บ่งบอกความสุก แต่กลับมีค่าอย่างที่หลายคนคาดไม่ถึง 💡 สารสีเหลือง, แดง, ส้มในผักผลไม้หลายชนิด แท้จริงแล้วคือรงควัตถุในกลุ่มของ แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด, ส่งเสริมสุขภาพสายตา, ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน, และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและมะเร็ง ด้วยประโยชน์ข้างต้น จึงมีการนำแคโรทีนอยด์มาผลิตหรือใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 🌟
ยังสามารถพบได้ในสาหร่าย, ยีสต์, รา, และแบคทีเรีย ซึ่งถือเป็นแหล่งทางเลือกที่มีศักยภาพสูง เพราะสามารถเลี้ยงให้ได้ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้นเพื่อสกัดเอาแคโรทีนอยด์ออกมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ 🌱

ปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดโลกของผลิตภัณฑ์กลุ่มแคโรทีนอยด์มีค่าสูงถึง 1.45 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 คาดว่าจะเพิ่มถึง 2.45 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2577 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นที่ 5.4% สะท้อนถึงความต้องการของผลิตภัณฑ์กลุ่มแคโรทีนอยด์ที่เพิ่มต่อเนื่องในทุก ๆ ปี

ดังนั้น การคิดคันผลิตภัณฑ์กลุ่มแคโรทีนอยด์ใหม่ๆ, รวมถึงการคิดหาแหล่งของแคโรทีนอยด์ใหม่ๆ ที่มีปริมาณแคโรทีนอยด์สูง จึงเป็นเทรนด์ของงานวิจัยที่นักวิจัยทั่วโลกต่างจับตามองและให้ความสำคัญเป็นที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทย เมื่อทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ได้ค้นพบและคัดแยกยีสต์แดงที่มีชื่อว่า Rhodotorula paludigena CM33 ซึ่งมีเซลล์สีแดงและผ่านการศึกษาทดลองแล้วว่ามีความปลอดภัยต่อมนุษย์และมีศักยภาพในการผลิตแคโรทีนอยด์สูง และยังมีปริมาณโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ ในปริมาณที่สูง ด้วยความร่วมมือกับทีมนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงสามารถพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงยีสต์ชนิดนี้ให้ได้ในปริมาณมาก และสามารถควบคุมการสร้างแคโรทีนอยด์ให้ได้ในปริมาณสูงถึง 2.22 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์ โดยใช้เทคโนโลยีการหมักในถังปฏิกรณ์ชีวภาพเข้ามาช่วยทำให้ยีสต์แดงสายพันธุ์ไทยสามารถผลิตแคโรทีนอยด์ได้สูงกว่ายีสต์แดงสายพันธุ์อื่นๆ ที่เคยร้ายงานไว้บนโลกใบนี้ ถึง 3 เท่า (ยีสต์แดงสายพันธุ์อื่นๆ มีปริมาณแคโรทีนอยด์อยู่ในช่วง 0.23-0.72 มิลลิกรัมต่อกรัมเซลล์) จึงถือเป็นโอกาสอันดีสำหรับประเทศไทยในการผลิตแคโรทีนอยด์ให้ได้ในปริมาณมากเพราะการเพาะเลี้ยงในถังปฏิกรณ์ชีวภาพสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีจากห้องปฏิบัติการไปสู่ระดับอุตสาหกรรมโดยสามารถเพาะเลี้ยงยีสต์แดงให้ได้ครั้งละหลายร้อยกิโลกรัมถึงหลักตันต่อครั้งการผลิต
สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการใช้ยีสต์แดงสายพันธุ์ไทยนี้เป็นแหล่งผลิตแคโรทีนอยด์ รวมถึงใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มแคโรทีนอยด์ต่างๆ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกต่อไป 🚀

ความต้องการแคโรทีนอยด์เติบโตอย่างก้าวกระโดด ตามการเติบโตของผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม สมควรที่จะได้รับการส่งเสริมให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ดีกว่าจะไปตื่นเต้นกับเหมืองแร่ลิเทียม ที่สุดท้ายก็อกหักไปตามๆ กัน 💥

Share on facebook
Share on Facebook
Share on twitter
Share on Twitter
Share on linkedin
Share on Linkdin
Share on pinterest
Share on Pinterest

TU-RAC

สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์